เมื่อสินค้าแบรนด์เดิม เปลี่ยนสูตรใหม่

สโลแกนที่เรามักจะได้ยินบ่อยครั้งในกลุ่มอาหารเสริมความงามต่างๆ สโลแกนที่ว่าเปลี่ยน package ใหม่ เปลี่ยนสูตรใหม่ให้ดีขึ้น ทั้งที่ของเดิมก็มีลูกค้าติดเยอะอยู่แล้ว ทำไมถึงต้องขอเปลี่ยนสูตรใหม่อยู่ตลอดเวลา มันเป็นกลยุทธ์ของการตลาดที่พฤติกรรมลูกค้านั้นเวลาใช้สินค้าเดิมๆจะรู้สึกเบื่อ อยากจะลองของใหม่ดูบ้าง ผู้ผลิตใช้สินค้าตัวเดิม แต่มีปรับเปลี่ยน package ใหม่ และอาจมีปรับสูตรใหม่เพื่อลูกค้าให้รู้สึกว่าเขาไม่ได้กำลังใช้ตัวเดิมอยู่ แต่กำลังใช้สิ่งที่ดีกว่าเดิม มันคือพฤติกรรมผู้บริโภคที่มักจะต้องการตอบสนองสิ่งที่ดีขึ้นเรื่อยเรื่อยให้กับตัวเองอยู่เสมอ

แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวผลิตภัณฑ์ สิ่งที่อาจจะต้องตามมาคือดีขึ้นและแย่ลง กรณีที่ลูกค้าใช้แล้วรู้สึกดีขึ้น กระแสของครีมหรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวแบรนด์นั้น จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น บริษัทอาจจะมียอดขายโตขึ้นอย่างทวีคูณเลยทีเดียวโดยไม่ต้องใช้ค่าโฆษณา promote มากมายนัก เพราะมีฐานลูกค้าเดิมอยู่แล้ว แต่ในทางกลับกัน กรณีที่ลูกค้าใช้แล้วเกิดแพ้ขึ้นมา อาจจะเป็นสิวเห่อเต็มหน้าหรือหน้าไหม้ด้วยสารอันตรายต่างๆที่อยู่ในผลิตภัณฑ์สูตรใหม่เหล่านั้น กระแสค่านิยมก็จะเกิดขึ้นมาในทางลบ คือออกมาโจมตี ออกมาร้องเรียน ทำให้เจ้าของแบรนด์สินค้าอาจจะต้องเสียค่าฟ้องร้องอีกหลายเท่าตัว

ครีมเปลี่ยนสูตร

เปลี่ยนสูตรเมื่อไหร่ ความเสี่ยงทั้งเจ้าของและผู้ใช้เกิดทันที

แทนที่จะได้เก็บโกยเงินจากลูกค้าเก่าก็ดีอยู่แล้ว ดังนั้น หากเราเป็นคนที่มีความรู้สึกรักสวยรักงาม อยากจะดูดีดึงดูดเพศตรงข้าม เราจึงควรที่จะใส่ใจและเลือกผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด โดยคำนึงถึงความเหมาะสม เป็นไปได้ควรจะศึกษาและดูข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสมองค์ประกอบต่างๆของผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นว่ามีสารอะไรที่เราแพ้หรือไม่ หากว่าเรามีอาการแพ้ในสารบางตัว แนะนำว่าให้เลี่ยงการใช้ เพราะโอกาสที่มันจะเกิดผลในเชิงลบมากกว่าเชิงบวกมีค่อนข้างสูง เมื่อผลิตภัณฑ์ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันเกิดมีการปรับสูตร โดยที่ของเดิมไม่สามารถหาซื้อได้ เราควรจะสอบถามตัวแทนของผู้จัดจำหน่ายเหล่านั้นก่อนว่ามันมีข้อดีข้อเสียอย่างไร บางเคสสูตรเดิมแต่ดันเขียนว่าสูตรใหม่ก็มี ซึ่งเป็นการโฆษณาเกินจริงแต่ก็ยังทำกันอยู่ในทุกวันนี้ เราจึงควรเลือกสิ่งที่ดีที่สุดด้วยความรู้ การศึกษาข้อมูลอย่างถูกต้อง เพื่อให้เราใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด ไม่ต้องเสี่ยงต่อการเสียโฉมเพียงเพราะหลงเชื่อคำโฆษณา